ที่มา w w w.pohchae.com/2023/08/11/screwdriver-measure-electric-leakage-how-work/
ไขควงลองไฟ หรือ ไขควงวัดไฟรั่ว ทำงานได้อย่างไร?
#ไขควงลองไฟ #ไขควงวัดไฟรั่ว #ทำงานได้อย่างไร
หลักการทำงานของไขควงวัดไฟคือการอาศัยร่างกายของผู้ใช้งานเป็นสื่อ นั่นคือการอาศัยค่าความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ที่ตามหลักแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์มากไปยังจุดที่มีศักย์น้อยกว่า เมื่อปลายไขควงวัดไฟสัมผัสกับตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทานเพื่อทำการจำกัดกระแสให้ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน จากนั้นจึงไหลผ่านไปยังหลอดนีออน ก่อนจะไหลต่อเนื่องไปยังร่างกายของผู้ใช้งานแล้วไหลลงพื้นเป็นอันครบวงจร ทำให้หลอดนีออนสว่างขึ้นมาได้..
และเป็นเหตุผลที่ระหว่างใช้งานไขควงวัดไฟต้องไม่ใส่รองเท้านั่นเอง
ภายในไขควงเช็คไฟประกอบไปด้วย ปลายไขควง, ตัวต้านทาน, หลอดนีออน,สปริง และจุดสัมผัสทำจากโลหะ
..ส่วนประกอบที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่ามีแค่นี้ก็พอ นั้นก็คือตัวต้านทานสำหรับจำกัดกระแสไฟฟ้าและหลอดนีออนสำหรับแสดงสถานะเท่านั้น ส่วนสปริงนั้นเอาไว้ดันให้อุปกรณ์ที่บรรจุภายในแท่งไขควงแนบสนิทกันอยู่ตลอดเวลาหลักการของไขควงเช็คไฟนั้นอาศัยค่าความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า นั่นก็คือกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์มากไปยังที่ๆ มีศักย์น้อยกว่านั่นเอง โดยเมื่อปลายไขควงสัมผัสกับตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทานเพื่อทำการจำกัดกระแสให้ลดลงเหลือเพียง 0.1 ถึงประมาณ 0.2mA เท่านั้น ทำให้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ แล้วจึงไหลผ่านไปยังหลอดนีออน (หลอดนีออนจะใช้กระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยก็สว่างแล้ว) ต่อไปยังร่างกายของผู้ใช้งานแล้วไหลลงพื้นเป็นอันครบวงจร ทำให้หลอดนีออนติดสว่างขึ้นมานั่นเอง
วิธีการใช้งาน
(1) ใช้มือจับบริเวณด้ามของไขควง (ส่วนที่เป็นฉนวนพลาสติก) ระวังอย่าให้มือสัมผัสโดนส่วนปลายของไขควงเด็ดขาด
(2) นำปลายไขควงแตะกับเต้ารับไฟฟ้าหรือบนโลหะที่ต้องการทดสอบ
(3) ใช้นิ้วมือแตะบนจุดสัมผัส (เป็นโลหะสีตะกั่ว) ที่ส่วนหัวของไคขวง หากหลอดนีออนติด แสดงว่าช่องนั้นมีกระแสไฟฟ้า หรือเป็นเส้นไลน์นั่นเอง
ข้อควรระวัง เมื่อใช้ไขควงลองไฟหรือไขควงวัดไฟ
1. ควรเลือกไขควงวัดไฟที่มีขนาดเหมาะสมกับชนิดของไฟฟ้า
2. นอกจากชนิดของไฟฟ้า ขนาดแรงดันของไฟฟ้าก็ต้องพอเหมาะ
3. การจับไขควงวัดไฟขณะใช้งาน ต้องระวังไม่ไปแตะบริเวณปลายไขควงส่วนที่เปลือยเด็ดขาด
4. การใช้ไขควงวัดไฟที่ถูกวิธี คือการนำปลายไขควงเช็คไฟไปแตะที่ตัวนำที่ต้องการทดสอบก่อน
5. ในกรณีที่ไขควงวัดไฟชำรุด ห้ามนำมาซ่อมใช้ใหม่เด็ดขาด.