ภาพจากมิวสิควิดีโอเพลง “Rhythm Nation”
ในระหว่างการทดสอบพวกเขาพบว่าเครื่องโน้ตบุ๊กบางรุ่นจากผู้ผลิตรายอื่นก็มีปัญหาแบบเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กบางเครื่องที่ไม่ได้เปิดเพลง “Rhythm Nation” เองโดยตรงก็มีสิทธิ์พังเสียหายได้เหมือนกัน หากมันถูกวางไว้บริเวณใกล้กับเครื่องที่เปิดมิวสิควิดีโอเพลงดังกล่าว..
จนท้ายที่สุดปริศนาก็ไขกระจ่างเมื่อทีมวิเคราะห์ปัญหาพบว่าเพลง “Rhythm Nation” มีคลื่นเสียงที่มีความถี่สั่นพ้องกับความถี่ธรรมชาติของฮาร์ดดิสก์จานหมุนที่กำลังทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผลก็คือเมื่อเปิดเพลงดังกล่าวฮาร์ดดิสก์จะเกิดการสั่นพ้องจนแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อที่ใช้ฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน…
หลังการค้นพบต้นตอของปัญหาทีมวิศวกรจึงใส่ฟิลเตอร์ในระบบเสียงของเครื่องโน้ตบุ๊กเพื่อกรองเอาสัญญาณคลื่นเสียงความถี่อันตรายออกไปเพื่อให้การเล่นเพลงดังกล่าวปราศจากคลื่นความถี่เจ้าปัญหา ทว่าหากเพลงดังกล่าวถูกเล่นจากระบบเล่นไฟล์เสียงอื่นที่ไม่มีฟิลเตอร์นี้ คลื่นความถี่สั่นพ้องก็อาจยังคงสามารถสร้างปัญหาให้กับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องโน้ตบุ๊กเฉพาะรุ่นเหล่านั้นได้อยู่ดีหากมันได้รับแรงสั่นสะเทือนจากการเล่นเพลงนั้น
อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ฮาร์ดดิสก์จานหมุนกันแล้ว นั่นทำให้ความเสี่ยงที่จะเจอปัญหาจากความถี่สั่นพ้องอันเกิดจากไฟล์เสียงที่เปิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ลดน้อยลงไปมาก..
ที่มา – Microsoft DevBlogs ผ่าน The Next Web