ไฟฟ้า-อิเล็กฯ » ปริ้นท์แผงโซลาร์เซลล์จากเครื่องพิมพ์ แผงบางเท่ากระดาษ! ต้นทุนต่ำ 300บาท/ต.ร.ม.

ปริ้นท์แผงโซลาร์เซลล์จากเครื่องพิมพ์ แผงบางเท่ากระดาษ! ต้นทุนต่ำ 300บาท/ต.ร.ม.

29 ตุลาคม 2022
1141   0

แผ่นโซล่าเซลล์แบบพิมพ์ เพื่อการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น ปริ้นท์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์ ราคาถูก

     มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียสร้างแผงโซล่าเซลล์แบบบางเฉียบที่สามารถพิมพ์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์ โดยแผ่นโซล่าเซลล์นี้มีความหนาเพียง 0.075 มิลลิเมตร เท่านั้น ..

ใช้เทคโนโลยีโพลีเมอร์อินทรีย์ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์และเป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งแผงโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์แบบเดิมจะใช้ซิลิกอนและมีน้ำหนักถึง 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่โซล่าเซลล์แบบพิมพ์ใช้พอลิเมอร์อินทรีย์ทำให้สามารถพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้เหมือนกับที่ใช้ในการผลิตหนังสือพิมพ์และหนังสือจำนวนมาก ..

นักพัฒนาคาดว่าจะสามารถพิมพ์ได้ประมาณ 100 ชิ้นต่อวัน และคาดว่าราคาแผงจะอยู่ที่ประมาณ 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) หรือประมาณ 300 บาทไทย (THB) ต่อตารางเมตร..

The Centre for Organic Electronics (COE) is a Priority Research Centre at the University of Newcastle. Here, the primary focus is on the development of new electronic devices at the intersection between semiconductors and plastics with three main research themes in organic photovoltaics, sensors for organic transistors and organic, photonic materials.
This technology provides opportunities for the development of new products and industries focused on the manufacture of printed electronic goods. Because of this approach, the COE has established key R&D relationships with local and international companies with the goal of developing commercial sensors and devices.
newcastle.edu.au/research-and-innovation/centre/coe

Paul Dastoor ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล กล่าวว่า “เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แบบพิมพ์นี้สามารถนำมาใช้ได้กับงานที่หลากหลาย เพราะมีน้ำหนักเบา ทำให้พกพาสะดวก มันสามารถแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อไปจ่ายให้กับไฟถนน ปั๊มน้ำ ไฟแคมป์ปิ้ง ที่พักพิงสำหรับภัยพิบัติ การสร้างม่านบังตาอัจฉริยะสำหรับอาคาร หรือแม้กระทั่งการจ่ายไฟให้กับยานพาหนะ และสามารถติดตั้งได้โดยติดเทปกาว ซึ่งแผงโซล่าเซลล์ทำมาจากพลาสติก PET ซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าแผงรุ่นก่อนหน้า ทำให้มันมีอายุการใช้งานเพียง 2 ปี จากรุ่นเดิมที่มีอายุการใช้งานที่ประมาณ 20 ปี ซึ่งในอนาคตเราก็มีแผนที่จะพัฒนากันต่อไป”

cr:https://www.energy-conservationtech.com/content/25547/printable-solar-cells
https://www.google.com/..1667011533622&q=%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B..